ข่าวการเกษตร

“กระทรวงเกษตรฯ” ใส่เกียร์ลุย ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย”

?“กระทรวงเกษตรฯ” ใส่เกียร์ลุย ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” พัฒนาระบบบิ๊กดาต้าฐานข้อมูลเกษตร 77 จังหวัด
?พร้อมเปิดบริการภาครัฐออนไลน์รูปแบบเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application)

? “อลงกรณ์” เร่งเครื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรเมดอินไทยแลนด์ (M.I.T.) ปักธงจัดตั้งสตาร์ทอัพเกษตรทุกจังหวัดทั่วประเทศหวังเป็นคานงัดสร้างจุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทย

? นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (1มิ.ย) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) ว่า ภายใต้การขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการทั้ง 2 คณะได้เร่งทำงานเชิงรุกมีผลงานความคืบหน้าการดำเนินงานดังนี้

? 1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า (Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) กำลังเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาฐานข้อมูล (Big Data) ระดับจังหวัด 77 จังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการพยากรณ์ข้อมูลโดยให้หน่วยงานส่วนกลางและพื้นที่เชื่อมโยงชุดข้อมูล จัดทำเป็นบัญชีข้อมูลตามมาตรฐานของ สำนักงานรัฐบาลดิจิตอล (สพร.) โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (ศกช. – National Agriculture Big Data Center : NABC) ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รับผิดชอบดำเนินการ

? สำหรับการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Gov Tech) ได้สำรวจเรื่องการใช้งานระบบ CKAN จัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 22 หน่วยงานแล้ว ในส่วนของการบริการรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์ (e-Service) ขณะนี้ ดำเนินการให้เป็น Digital Service คืบหน้าไปกว่า 95% ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จทั้ง 176 ระบบภายในปี 2565

ส่วนการพัฒนาการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมผ่านระบบ NSW (National Single Window) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับผู้ประกอบการ ขณะนี้มีการเชื่อมโยงแล้ว 55 ระบบ และเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปให้สืบค้นข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วและเข้าถึงการบริการ e-Service ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า (Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทําเว็บแอพพลิเคชันระบบบริการภาครัฐ (Web Application) เพื่อเป็น ช่องทางกลางในการเข้าถึงบริการ (e-Service) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย “ระบบบริการภาครัฐ” มีเมนูจําแนกตามกิจกรรมบริการที่สอดคล้องกับวัฏจักรการทําการเกษตรทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย
1) การวางแผนการผลิต
2) การหาปัจจัยการผลิต
3) การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ดูแลรักษา
4) การเก็บเกี่ยว
5) การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า และ
6) การตลาด การจําหน่าย
นอกจากนี้ ยังมีเมนูพิเศษอื่น ๆ เพื่อการสืบค้นและสามารถเข้าถึงงานวิจัย ตลอดจน รายชื่อองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC 77จังหวัด) โดยผู้ใช้งานสามารถค้นหาระบบ e-Service ที่ต้องการได้ทันที และระบบจะเชื่อมโยงไปถึงระบบ e-Service

? 2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายหน่วยงานทบทวนและรายงานผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ การขับเคลื่อนงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เกษตรอัจฉริยะ การขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับ บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จากัด (มหาชน) เพื่อขับเคลื่อนแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะข้าว มอบหมายกรมการข้าว จัดทำบลูพริ้นพื้นที่แปลงที่จะดำเนินการ พร้อมทั้งจัดทำแผน ปฏิบัติการโครงการนำร่องการใช้ข้อมูล และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง Appropriate Smart Farming Technologies in Thailand ในงาน AGRITECHNICA ASIA

? 3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานความก้าวหน้า ด้านการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบออนไลน์ “ตลาดเกษตรออนไลน์” ปัจจุบันมีมูลค่าการจำหน่ายสะสมรวมเป็นเงิน 424,634,354 บาท ด้านการขับเคลื่อนการบูรณาการงานด้านการส่งเสริมธุรกิจเกษตร การอบรมเกษตรกร /ผู้ประกอบการ ร่วมกับภาคเอกชน กิจกรรมแมตชิ่งของเกษตรกร/ผู้ประกอบการร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งอยู่ระหว่างประสานงานกับบริษัท ฟินิส์บ๊อก และไทยเทรด และความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาคนและผลิตภัณฑ์ 

? 4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนและให้คำแนะนำ ในส่วนของช่องทางการทำตลาดผลไม้ (ลำไย) ออนไลน์ โดยเฉพาะจังหวัดลำพูนและลำปาง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรผู้ปลูกลำไยเป็นจำนวนมากอีกทั้ง รับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในส่วนของการขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย นำ Innovation Catalog 3+2 และนวัตกรรมเทคโนโลยีลงไปถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรในพื้นที่ทั้งในเชิงบรรยายและเชิงปฏิบัติการ อีกทั้ง คณะเกษตรศาสตร์ มรอ. ได้เปิดบริการแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรและสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการได้อีกด้วย

? ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสถาบันเกลือทะเล (Salt Academy) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีในฐานะศูนย์AICประเภทศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านเกลือทะเล ซึ่งมีการทำยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการด้านเกลือทะเลไทย เพื่อขับเคลื่อนสู่การทำนาเกลือดีที่เหมาะสมและยกระดับแหล่งทำนาเกลือทะเลสู่มรดกโลก เกลือทะเลเพื่อตลาดอาหาร สุขภาพและการท่องเที่ยว รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างแพลตฟอร์มการขาย ด้านเกษตรอัจฉริยะ การพัฒนาคุณภาพและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์เกลือ ระบบการจำหน่าย โลจิสติกส์ และการจัดเก็บข้อมูล และมาตรฐาน GAP GMP ฮาลาล โดยมุ่งหวังเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลไทยครบวงจร Thai Sea Salt ให้ได้ภายในปี 2570

? นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบผลการพิจารณาคัดเลือกรางวัล AIC Award โดยแบ่งเป็นประเภท 1) นวัตกรรมยอดเยี่ยม สาขานวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ 2) นวัตกรรมยอดเยี่ยม สาขานวัตกรรมเพื่อสังคมการเกษตร 3) ศูนย์ AIC สมรรถนะสูง 4) ศูนย์ข้อมูลดีเด่น และผลการขับเคลื่อน AIC ผ่าน Innovation Catalog ปี 2565 แบ่งเป็น 11 ประเภท มีจำนวน 748 เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่าน ศพก. จำนวน 8,709 ราย และศพก. ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC จำนวน 56 แห่ง และการขยายผลสู่แปลงใหญ่ จำนวน 5 จังหวัด 8 แปลงใหญ่

? ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนปฏิรูปภาคเกษตรของปีนี้ว่า มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงระดับพื้นที่โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดและอำเภอ รวมทั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255 ตำบลทั่วประเทศ เป็นกลไกใหม่ที่ลงลึกถึงหมู่บ้านและชุมชนเป็นครั้งแรกซึ่งจะเป็นคานงัดที่จะสร้างจุดเปลี่ยนให้กับภาคเกษตรกรรมของไทย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะนำเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์ AIC ไปใช้ ต่อยอดและขับเคลื่อนภาคการเกษตรในระดับพื้นที่อย่างน้อย 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 เทคโนโลยี 1 แปลงอัจฉริยะและพัฒนา สู่การเป็น Start up และ SME ด้านการเกษตร เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยจากศูนย์ AIC ได้จริง อีกทั้งจะเป็นการพลิกโฉมประเทศสู่การเป็นประเทศพัฒนาต่อไปด้วย

? สำหรับคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ได้จัดการประชุมร่วมแบบไฮบริดผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน ได้แก่นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส ประธานคณะทำงานคัดเลือก AIC Award นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ ร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ได้แก่ ด้านเกษตรอัจฉริยะ ด้าน E-Commerce และด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) .▪️▫️▪️▫️
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.